3 ธนาคาร ประกาศแจ้งข่าวด่วน พร้อมช่วยเหลือประชาชน

นายกมลภพ วีระพละ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เข้าร่วมโครงการ แบงก์รัฐลดก่อน ผ่อนภาระประชาชน  โดยจัดทำ 2 ผลิตภัณฑ์สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายให้ประชาชน คือ โครงการบ้าน ธอส. สุขสบาย ปี 2567 กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท และโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ ปี 2567 กรอบวงเงิน 20,000 ล้านบาท ผู้ที่สนใจสามารถยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันนี้ และทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2567 ณ สาขาธนาคารทั่วประเทศ

ด้าน นายอิทธิพล เลิศศักดิ์ธนกุล รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) ก็ยืนยันเข้าร่วมโครงการ แบงก์รัฐลดก่อน ผ่อนภาระประชาชน พร้อมนำเสนอ 5 ผลิตภัณฑ์ คือ สินเชื่อเอ็กซิมเริ่มต้นส่งออก เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน สินเชื่อเอ็กซิมเติมทุนส่งออก สินเชื่อเอ็กซิม กรีน สตาร์ท กลุ่มผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สินเชื่อ เอ็กซิมยกระดับมาตรฐานยางพาราไทย และ สินเชื่อเอ็กซิม เอ็กซ์ต้า ทรานส์ฟอร์เมชั่น ทุนสำหรับซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ ซื้อหุ่นยนต์ และระบบอัตโนมัติ

นอกจากนี้ เอ็กซิมแบงก์ ยังมีมาตรการช่วยเหลือต่อเนื่องแก่กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่เป็นหนี้ดเสียจากช่วงโควิด-19 ต่อที่ 1 กรณีชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ปรับลดดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี เป็นเวลา 3 เดือน หรือกรณีเลือกชำระเพียงเงินต้น พักชำระดอกเบี้ยได้ เป็นเวลา 3 เดือน และต่อที่ 2 กรณีสามารถชำระหนี้ตามเงื่อนไขได้เป็นปกติ 3 งวดติดต่อกัน พักชำระหนี้เงินต้น พร้อมปรับลดดอกเบี้ยลง ร้อยละ 1.00 ต่อปี เป็นเวลา 1 ปี

ขณะที่ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ จิ๋วสุดแจ๋ว สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย (MICRO) ในวงเงินรวม 500 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุน ขยาย ปรับปรุง ปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจ หรือหมุนเวียนเสริมสภาพคล่องธุรกิจควบคู่กับสนับสนุนเติมความรู้ ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างเข้มแข็งเติบโตอย่างยั่งยืน โดยให้วงเงินกู้สูงสุด 500,000 บาทต่อราย ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ผ่อนชำระนานสูงสุด 5 ปี แบบลดต้นลดดอก เปิดรับคำกู้ตั้งแต่วันนี้ ถึงสิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ 2568 หรือจนกว่าจะหมดวงเงินโครงการ

ด้าน นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ ในฐานะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2567 สบน. ได้กำหนดเป้าหมายในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ในวงเงินรวม 1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเดือนมีนาคมที่หมดไปแล้ว 4 ล้านบาท ช่วงเดือนกรกฎาคม 2567 อีก 4 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือจะออกในช่วงปลายปีงบประมาณ อย่างไรก็ตาม สบน. อาจไม่จำเป็นต้องออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้ครบทั้ง 1 แสนล้านบาทก็ได้ หากผลของการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสามารถเก็บได้เกินกว่าเป้าหมาย